human rights policy
นโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
บริษัท เอ็นอีพี อสังหาริมทรัพย์และอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า ประกอบด้วย พนักงาน ผู้ถือหุ้น นักลงทุน ลูกค้า ชุมชน สังคม คู่ค้า คู่แข่ง และผู้เกี่ยวข้องของบริษัทฯ ยึดถือหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงสิทธิในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจเพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะดำเนิน ธุรกิจด้วยความรอบคอบ ระมัดระวัง และไม่กระทำการใดที่จะก่อให้เกิดการละเมิดหรือสร้างผลกระทบต่อสิทธิมนุษยชน ทั้งทางตรงหรือทางอ้อมรวมทั้งไม่ส่งเสริมหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน ดังนี้
1. การเคารพหลักสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า จะต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติกฎหมายของประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน รวมถึงหลักสิทธิมนุษยชนสากล อันประกอบด้วยปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (Universal Declaration of Human Rights: UDHR) ข้อตกลงประชาคมโลกแห่งสหประชาชาติ (United Nations Global Compact: UNGC) หลักการชี้แนะของสหประชาชาติว่าด้วยการดำเนินธุรกิจและสิทธิมนุษยชน (UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) และปฏิญญาว่าด้วย หลักการและสิทธิขั้นพื้นฐานในการทำงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO Declaration on Fundamental Principles and Rights at Work) โดยมุ่งมั่นยับยั้งการบังคับใช้แรงงาน การค้ามนุษย์ และการใช้แรงงานเด็ก นอกจากนี้ยังรับรองสิทธิในการร่วมเจรจาต่อรอง เสรีภาพในการสมาคม ค่าตอบแทนที่เท่าเทียมกันสำหรับพนักงานทุกคน รวมถึงสภาพการทำงานที่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน
2. การไม่เลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
บริษัทฯ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า จะต้องป้องกันและต่อต้านการล่วงละเมิดทางเพศ รวมถึงการล่วงละเมิดอื่น ๆ อย่างเคร่งครัด ตลอดจน การเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากความแตกต่างในด้านเชื้อชาติ ถิ่นกำเนิด ศาสนา ความเชื่อ เพศ สีผิว ภาษา สถานะทางสังคม หรือความแตกต่างอื่นใด พนักงานของบริษัทฯ จะต้องได้รับการฝึกอบรม ด้านการเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิดในสถานที่ปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความตระหนักและเข้าใจถึงกระบวนการและแนวทางป้องกันต่อเหตุการณ์การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด
3. การทวนสอบสถานะเพื่อระบุความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence: HRDD)
บริษัทฯ ดำเนินการตามวิธีประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า โดยจะต้องระบุ ประเมินและบรรเทาความเสี่ยง และผลกระทบ ที่ครอบคลุมกลุ่มเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นอย่างเป็นระบบอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เด็ก ผู้พิการ ผู้หญิง ชนพื้นเมือง แรงงานต่างชาติ แรงงานภายนอก ชุมชนท้องถิ่น และอื่น ๆที่เกี่ยวข้องโดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีหน้าที่กำากับดูแล ตรวจติดตาม และบริหารความเสี่ยงตามหน้าที่ความรับผิดชอบของตน
4. สนับสนุนและส่งเสริมเรื่องสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า สนับสนุนและส่งเสริมด้านสิทธิมนุษยชนในทุกรูปแบบ ที่ครอบคลุมกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน โดยเคารพและปฏิบัติตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
5. สื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า สื่อสาร เผยแพร่ ให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชน ต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน พร้อมทั้งให้การสนับสนุนคู่ค้าและคู่ธุรกิจ ในการดำเนินธุรกิจที่เคารพและปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน
6. เรื่องการเคารพสิทธิมนุษยชน
บริษัทฯ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า มีความเคารพ ไม่เพิกเฉยและละเลย ต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน เมื่อพบเห็นการกระทำที่อาจละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยต้องรายงานต่อผู้บังคับบัญชาหรือแจ้งผ่านช่องทางที่กำหนดไว้ (Whistleblowing)
ทั้งนี้ กรรมการ ผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องของบริษัทฯ ตลอดจนห่วงโซ่คุณค่า ต้องรับทราบ เข้าใจ และปฏิบัติตาม นโยบายฯ ฉบับนี้ โดยทั่วกัน